วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ



บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ เเละการจัดการ

2.1ข้อมูลเเละสารสนเทศ

     1) ข้อมูล
         ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือมีลักษณะหลายอย่าง
ผสมผสานเข้าด้วยกัน



     2) สารสนเทศ
         สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆที่ผ่านการประมวลผลเเล้ว ซึ่งถูกต้องเเม่นยำเเละตรงกับความต้องการของผู้ใช้


     3) ลักษณะของข้อมูลที่ดี 
         ต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมเเละตรงกับความต้องการของผู้ใช้
  • มีความถูกต้องเเละเเม่นยำ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก หากข้อมูลไม่ถูกต้องผู้ใช้ก็ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้
  • มีความสมบูรณ์ครบถ้วน มีความสมบูรณ์ กระชับเเละชัดเจนก็จะทำให้ข้อมูลนั้นมีคุณภาพ เกิดความน่าเชื่อถือ
  • ถูกต้อง รวดเร็ว เเละเป็นปัจจุบัน
  • ความสอดคล้องของข้อมูล

  
   4) ชนิดเเละลักษณะของข้อมูล
  • ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (numeric data) คือข้อมูลที่ใช้เเทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณได้ ซึ่งเขียนได้หลายรูปเเบบ 
          - เลขจำนวนเต็ม
          - เลขทศนิยม สามารถเขียนได้ 2 รูปเเบบ
          4.1 เเบบที่ใช้ทั่วไป
          4.2 เเบบที่ใช้ในทางงานวิทยาศาสตร์
  • ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (character) คือข้อมูลที่เป็นตัวอักษรเเละไม่สามารถนำไปคำนวณได้ เช่น ICT,COMPUTER
     5) ประเภทของข้อมูล 
  • ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม หรือบันทึกจากเเหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งไม่ได้คัดลอกจากบุคคลอื่น ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย เเละเป็นปัจจุบันมากกว่า ทุติยภูมิ


  • ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data ) คือข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้เเล้ว ซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้

2.2 กระบวณการจัดการสารสนเทศ

     1) การรวบรวมเเละตรวจสอบข้อมูล
  • การรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานซึ่งใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูล
  • การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้องซึ่งหากพบความผิดพลาดก็จะต้องเเก้ไข โดยอาจใช้สายตาของมนุษย์หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบ


     2) การประมวลผลข้อมูล 
  • การจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นควรจัดเป็นกลุ่มเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน เพื่อเตรียมไว้ใช้งานต่อไป
  • การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดเป็นหมวดหนู่เเล้ว ก็ควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับ เพื่อสะดวกเเละประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
  • การสรุปผลข้อมูล  หลังจากจัดเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูลต่างๆเเล้วก้ควรสรุปข้อมูลเหล่านั้นให้กระชับเเละได้ใจความ

     3) การจัดเก็บเเละการดูเเลลรักษาข้อมูล
  • การเก็บรักษาข้อมูล การนำข้อมูลที่ประมวลผลเเล้วมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ
  • การทำสำเนาข้อมูล การคัดลอกข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อเก็บรักษาหากต้นฉบับเสียหายก็สามารถนำสำเนามาใช้ได้ทันที


     4) การเเสดงผลข้อมูล
  • การสื่อสารเเละเผยเเพร่ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญเเละมีบทบาทอย่างมากเพราะหากได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วตรงเวลา ผู้ใช้งานก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
  • การปรับปรุงข้อมูลหลังจากได้เผยเเพร่ข้อมูลไปเเล้ว ควรมีการติดตามผลตอบกลับ(feedback) เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาเเก้ไขให้ทันสมัย

2.3 ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ 

     1) ระบบเลขฐานสอง
         การสื่อสารกับคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยระบบเลขฐานสองเนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าโดยเเทนด้วย ตัวเลข 0 เเละ 1 เเต่ละหลักจะเรียกว่า "บิต" เเละนำมาเรียงต่อกัน (8 บิต เท่ากับ 1 ไบต์) จะใช้สร้างรหัสเเทนจำนวน อักขระ สัญลักษณ์
     2) รหัสเเทนข้อมูล
  • รหัสเเอสกี (American standard Code Information Interchange: ASCII) เป็นรหัสเเทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์
  • รหัสยูนิโค้ด (Unicord) เป็นรหัสเเทนข้อมูลด้วยเลขฐานสอง จำนวน 16 บิต เนื่องจากตัวอักษรบางตัวเป็นรูปภาพ
     3) การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
  • บิต (bit) ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในระบบเลขฐานสอง 0 กับ 1 ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด
  • ตัวอักขระ (Character) คือตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆ
  • เขตข้อมูล (field) คือข้อมูลที่เป็นอักขระเรียงต่อกัน เพื่อเเทนความหมายใดความหมายหนึ่ง
  • ระเบียนข้อมูล (reccord) คือกลุ่มของเซตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันตั่งเเต่ 1 เซตข้อมูลขึ้นไป
  • เเฟ้มข้อมูล (file) คือกลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ตั้งเเต่ 1 ระเบียน ขึ้นไป
  • ฐานข้อมูล (database) เป็นที่รวบรวมเเฟ้มข้อมูลหลายๆเเฟ้มเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตของข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อม

2.4 จริยธรรมในการใช้ข้อมูล 

  1) ความเป็นส่วนตัว
       ความเป็นส่วนตัว (privacy) ก่อนที่จะเผยเเพร่ข้อมูลทุกครั้งต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง ซึ่งหากข้อมูลเหล่านี้ถูกพวกมิจฉาชีพนำไปใช้ในทางที่ผิด ก็จะสร้างความเดือดร้อน
  2) ความถูกต้อง 
       ความถูกต้อง (accuracy)  ก่อนที่จะเผยเเพร่ข้อมูลใดๆควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลนั้นเสียก่อน เพราะถ้าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลที่ผิด ก็ไม่สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์อะไรได้เลย
  3) ความเป็นเจ้าของ 
       ความเป็นเจ้าของ (Porperty)  การละเมิดลิขสิทธฺ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาจะทำให้เกิดความเสียกายทางธุระกิจต่อเจ้าของข้อมูล ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการนำข้อมูลต่างมาใช้งานว่าได้รับอนุญาตจากเจ้าข้อมูลหรือไม่
  4) การเข้าถึงข้อมูล (accessibility) การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ก็เพื่อป้องกันเเละรักษาความลับของข้อมูล

จงตอบคำถาม
   
    1.ข้อมูลหมายถึงอะไร
    2.สารสนเทศหมายถึงอะไร
    3.ชนิดและลักษณะข้อมูลมีกี่ประเภท อะไรบ้าง




 

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
               เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Information and Communication Technology : ICT) เมื่อนำคำทั้งสามคำมาเชื่อมกันจะมีความหมาย คือ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกับ
เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม เพื่อผลิต เผยแพร่ และจัดเก็บสื่อสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ เสียง เป็นต้น




1.2 ระบบสารสนเทศ
                ระบบสารสนเทศ (information system) เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ และจัดการกับข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบ ซึ่่งประกอบไปด้วย 5 ส่วนสำคัญ
                1)ฮาร์ดแวร์ (hardware) เป็นเครื่องมือที่ใช้กับการสารสนเทศ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศ เนื่องจากสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เช่น จอภาพ(monitor), คีย์บอร์ด (keyboard), เมาส์(mouse) , เครื่องพิมพ์(printer),สแกนเนอร์(scanner), ไมโครโฟน(microphone), ลำโพง(speaker), หูฟัง(headphone), เราเตอร์(router), จอยสติ๊ก(joystick),
เว็บแคม(web cam), เครื่องอ่านบาร์โคด(barcode reader) เป็นต้น

                  2)ซอฟต์แวร์(software) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งการให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ ภายใต้ของโปรแกรมนั้นๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                    
                      -ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) เป็นชุดคำสั่ง มีหน้าที่ควบคุมการทำงานอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในคอมพิวเตอร์ เช่นวินโดวส์(Windows) , ลินุกซ์(Linux) เป็นต้น



                       
                        -ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน เช่น ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน(spreadsheet), ซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพถ่าย(photo editing), ซอฟต์แวร์เพื่อความบันเทิง(entertainment) เป็นต้น
   




                          3.ข้อมูล (data) ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ ถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ โดยจะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ เช่น เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์
ไมโครโฟน เป็นต้น ทั้งนี้การจัดเก็บข้อมูลจะต้องมีโครงสร้างที่เป็นระบบเพื่อให้สืบค้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ


                            4.บุคลากร (people) จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในการใช้เทคดนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ โดยแบ่งออกเป็นผู้พัฒนาและผู้ใช้ระบบสารสนเทศ (user)

                              5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน(procedure) ผู้ใช้งานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงาน(user manual) อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ เช่น ขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ เมื่อข้อมูลได้รับความเสียหาย เป็นต้น
1.3 ประโยชน์ของกา่รใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
          1)ด้านการศึกษา ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ เช่นๆ ระบบการลงทะเบียนและระบบการจัดตารางการเรียนการสอน




           2)ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล  ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวมและบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น อาร์ดดิสก์(hard disk), แผ่นซีดีรอม(CD-Rom) และแผ่นดีวีดีรอม(DVD-Rom)
และสามารถนำข้อมูลกลับมาใช้ได้



           3)ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม การสื่อสารแบบไร้สายเข้ามามีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว เช่น การหาข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เป็นต้น


           4)ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  การวิจัยและการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งสิ้น เช่น การวิจัยด้านนิวเคลีย์ฟิสิกส์ งานด้านวิศวกรรมที่
มีการออกแบบโครงสร้างที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน เป็นต้น





           5)ด้านความบันเทิง รูปแบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการทั้งภาพและเสียงได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่สะดวกและรวดเร็ว จึงทำให้ได้รับความนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย  เช่น การชมโทรทัศน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การเล่นเกมสืออนไลน์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น



 1.4แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
          -เทคโนโลยีแบบไร้สายทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
          -มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความเหลื่อมล้ำ
ของผู้คนในสังคม
          -อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะมีขนาดกะทัดรัดและราคาถูก แต่มีประสิทธิ
ภาพที่สูงขึ้นและมีการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
          -การวางแผน การคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจของมนุษย์จะถูกแทนที่โดยคอมพิวเตอร์ซึ่งจะ
เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ
          -ด้วยการเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวก และรวดเร้ว ทำให้มีช่องทางการดำเนินธุรกิจและกิจกรรม
ต่างๆเพิ่มมากขึ้นด้วย
          -หน่วยงานหรือองค์กรจะมีขนาดเล็กลง แต่จะปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงเป็น
เครือข่ายระหว่างหน่วยงานย่อยๆเพิ่มมากขึ้น




1.5ผลกระทบจากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
          -พฤติกรรมเลียนแบบจากเกมที่ใช้ความรุนแรง อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้



 -การใช้ชีวิตของสังคมเมืองเปลี่ยนไป ทำให้การพบปะของผู้คนน้อยลง ส่งผลให้สัมพันธภาพ
ทางสังคมน้อยลงตามไปด้วย


          -การเข้าถึงข้อมูลบนระบบเครือข่ายที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทำให้เกิดช่องทางการโจรกรรม
เพิ่มมากขึ้น


          -ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้การผลิตของผิดกฎหมายและละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น
เช่น ซีดีเพลงและดีวีดีภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น


          -การส่งต่อข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆบนระบบเครือข่าย เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(e-mail) เฟซบุ๊ก (facebook) ถ้าผู้ส่งไม่ระมัดระวังอาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้



          -เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพัฒนาเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือขยะอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่มีมาตรการการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็จะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้



1.6อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

          -นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์(programmer) ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

          -นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst) ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบสารสนเทศ

          -ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล (database administrator) ทำหน้าที่บริหารจัดการฐานข้อมูล

          -ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย(network administrator) ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบเครือข่าย

          -ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (webmaster)

          -เจ้าหน้าที่เทคนิค (technician) ทำหน้าที่ดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์






ตอบคำถาม

Microsoft Office outlook 2007

















วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

My Profile


My profile




ชื่อ นางสาววิภาวี ชัยนนถี ชั้น ม.4/2 เลขที่ 31
ชื่อเล่น โย
โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์
เกิดวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
Facebook Wipawee Chainonthee Yo
นักแสดงชายที่ชื่นชอบ : เจมส์ จิรายุ ตั้งศรีสุข
นักแสดงหญิงที่ชื่นชอบ : ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่
ละครที่ชื่นชอบ : คุณชายพุฒิภัทร
ภาพยนตร์ที่ชื่นชอบ : พี่มากพระโขนง
เพลงที่ชื่นชอบ : เธอจะรักฉันหรือเปล่าไม่รู้
ศิลปินเกาหลีที่ชื่นชอบ : EXO , Super junior
บ้านเกิด : แพร่
โรงเรียนสมัยประถม : โรงเรียนรอตเสวกวิทยา
นิสัย : เซ่อ ซุ่มซ่าม ขี้โวยวาย ทำงานอะไรก็มักจะทำให้สำเร็จเสมอ
ขี้อายนิดหน่อย
วิชาที่ชอบ : ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
วิชาที่ไม่ชอบ : วิชาประวัติศาสตร์ เศรษศาสตร์ การงานอาชีพ
ความใฝ่ฝันในอนาคต : อยากเรียนคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(นครปฐม)
ของที่มักพกติดตัว : นาฬิกา แว่นตา โทรศัพท์ ลูกอม หวี กระเป๋าสตางค์